วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

แผนที่อำเภอแม่สาย

อำเภอแม่สาย


เหนือสุดยอดในสยาม ลือนามพระธาตุเจ้าดอยตุง
ผดุงวัฒนธรรมล้านนา เปิดมรรคาสู่อินโดจีน
แผ่นดินพระเจ้าพรหมมหาราช


อาหารพื้นเมือง

1.ข้าวฟืน

            ข้าวแรมฟืน หรือข้าวแรมคืน เป้นอาหารชนิดหนึ่งที่มีรสเปรี้ยว เผ็ด หวาน เป็นทั้งอาหารว่างและอาหารหลัก เป็นได้ทั้งอาหารคาวและหวาน แต่ทุกอย่างเป็นมังสะวิรัต เป็นอาหารเจ ซึ่งเป็นที่นิยมของชาวไทยใหญ่ ไทลื้อ และไทเขิน นำเข้ามาจากทางสิบสองปันนาประเทศจีน ผ่านมาทางพม่า แล้วเข้ามามาง อ.แม่สาย จ.เชียงราย เป็นเวลานานหลายสิบปีแล้ว ถือได้ว่าเป็นอาหารของชาวแม่สายไปแล้ว คำว่า "ข้าวแรมฟืน" คงเพี้ยนมาจาก ข้าวแรมคืน ซึ่งชื่อนี้ก็คงมาจากวิธีการทำนั่นเอง มีขั้นตอนดังนี้
             กรรมวิธีในการทำข้าวแรมฟืน ซึ่งก็มีส่วนประกอบหลักอยู่ 2 อย่าง คือตัวแป้งข้าวแรมฟืน และเครื่องปรุง ซึ่งอาหารชนิดนี้สังเกตดูองค์ประกอบคงจะมีลักษณะคล้าย ๆ ก๋วยเตี๋ยวของชาวจีนนั่นเอง
             ตัวข้าวแรมฟืนเติมมี 2 ชนิด คือข้าวแรมฟืนขาว และข้าวแรมฟืนถั่วลันเตา ปัจจุบันได้เพิ่มข้าวแรมฟืนถั่วดิน (ถั่วลิสง) เข้ามาด้วย ข้าวแรมฟืนขาวทำจากการโม่ข้าวเจ้าแข็งทำแป้ง แล้วนำน้ำแป้งที่ตกตะกอนมาเคี่ยวกับปูนขาวจนสุก จากนั้นเทใส่ภาชนะใดก็ได้ ทิ้งไว้ 1 คืน วันรุ่งขึ้นแป้งจะแข็งตัว ตามรูปภาชนะที่บรรจุ
             ส่วนข้าวแรมฟืนถั่วนั้นจะมีสีเหลือง ซึ่งทำจากเม็ดทั่วลันเตาแช๋จนเม็ดขยายแล้วจึงนำมาโม่ จากนั้นนำตะกอนส่วนหนึ่งมาเคี่ยวจนเดือด สังเกตดูว่าตะกอนเริ่มเหนียวจึงเทใส่ภาชนะแต่ไม่นิยมทำค้างคืนหรือแรมคืน เพราะหากทิ้งไว้นาน แป้งนี้จะเหลว ไม่จับตัวแข็งเหมือนข้าวแรมฟืนขาว เมื่อได้แป้งข้าวแรมฟืนแล้ว ก็นำมาหั่นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมผืนผ้าเล็ก ๆ เตรียมไว้



เครื่องปรุงข้าวแรมฟืน
1.น้ำถั่วเน่า (ถั่วเหลืองหมัก) ได้จากการนำถั่วเหลืองที่โขลกละเอียดแล้วผสมน้ำต้มสุก
2.น้ำขิง ทำมาจากการโขลกขิงผสมกับน้ำต้มสุก
3.กระเทียมเจียวน้ำมัน
4.ถั่วลิสงป่น
5.เกลือป่น
6.น้ำมะเขือเทศ
7.งาขาวป่น
8.ผงชูรส
9.ซีอิ้วดำ
10.ป่าก่อ (เครื่องเทศชนิดหนึ่ง รสหวาน กลิ่นหอม)

น้ำสู่ และน้ำมะเขือเทศ
           
 น้ำสู่เป็นเหมือนกับน้ำซุปที่ใส่ลงไปในข้าวฟืนที่หั่นเตรียมไว้ น้ำสู่แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือสู่ส้ม สู่หวาน ได้จากการนำน้ำตาลก้อน (ต้องเป็นน้ำตาลที่มาจากเชียงตุง) มาหมักประมาณ 2 ปี จนได้รสเปรี้ยว สู่หวานก็ได้จากการหมักเหมือนกัน แต่หมักไม่นานเท่า

วิธีปรุง
             นำเครื่องปรุงผสมข้าวฟืนที่หั่นเตรียมไว้ ผสมน้ำสู่ส้ม หรือสู่หวาน หรือทั้งสองอย่างก็ได้ บางคนชอบกินกับน้ำมะเขือเทศ โรยหน้าด้วย ถั่วงอกลวก กุ๊ยฉ่าย ถั่วผักยาวลวก แค่นี้ก็พร้อมเสริฟแล้วครับ
             รสชาดโดยทั่วไปของข้าวฟืนจะออกรสเปรี้ยว ๆ หวาน ๆ เป็นอาหารที่ไม่ต้องอุ่นน้ำซุป หรือน้ำมะเขือส้ม น้ำสู่ที่จะราดลงไปก็จะบรรจุไว้ในขวดแก้วธรรมดา น้ำมะเขือเทศนิยมใส่ขวดโหลไว้ในปริมาณเยอะ ๆ เพื่อสะดวกในการตักราด

             ร้านขายข้าวฟืนที่แม่สายมีให้เห็นโดยทั่วไปทุกซอกทุกซอย เพราะเป็นอาหารที่ปรุงง่าย ๆ รับประทานง่าย ๆ ไม่มีพิธีรีตอง หิวเมื่อไหร่ก็เดินเข้าไปในซอย นั่งยอง ๆ ลงบนม้านั่งตัวเล็ก ๆ สักพักก็จะมีแม่ค้านำถ้วยข้าวฟืนที่หอมกลิ่นถั่วเน่ามาเสริฟให้ เราก็จัดการปรุงเครื่องปรุงตามใจชอบ ถ้าไม่ถนัดในการปรุงเพราะไม่รู้จะใส่อันไหนบ้าง ก็ให้แม่ค้าเค้าปรุงให้ก็ได้

             สำหรับร้านที่เป็นที่นิยมของชาวอ.แม่สายและนักท่องเที่ยวก็คือร้านข้าวฟืนป้านาง (ที่เดียวกับข้าวซอยป้านาง) ขายอยู่บ้านป่ายาง หน้าหมู่บ้านเพชรยนต์ แต่ก่อนขายอยู่ใต้โรงหนังเก่าแม่สาย เขาขายมานานมากแล้ว ไม่ต่ำกว่า 20 ปี นอกจากข้าวซอยน้ำเงี้ยว ข้าวฟืนแล้ว ก็ยังขายข้าวฟืนทอด คือข้าวฟืนถั่วนั่นแหละ แต่นำไปทอด จิ้มกับน้ำจิ้มสูตรพิเศษ ทานเป็นของว่างได้อร่อยมาก



2.ข้าวซอยน้อย

 ข้าวซอยน้อยเป็นอาหารประจำถิ่นของอำเภอแม่สาย ที่ไม่ค่อยมีใครรู้จักสักเท่าไหร่ เนื่องจากไม่เป็นนิยมของนักท่องเที่ยว และร้านที่ทำข้าวซอยน้อยรสชาดดี และน่ากินมีไม่กี่ร้าน ข้าวซอยน้อยเป็นอาหารของชาวไทลื้อ ที่นิยมทานกันมาหลายชั่วอายุคนแล้ว เพราะเป็นอาหารที่ทำง่าย เครื่องปรุงต่าง ๆ ก็หาได้ภายในครัวนั่นเอง แต่ปัจจุบันจะหากินไม่ค่อยได้แล้ว นอกจากที่อำเภอแม่สายที่เดียว (อาจจะมีที่จังหวัดอื่น แต่เท่าที่สอบถามมา ไม่เคยเห็น)










                                 






                     ทำไมถึงเรืยกข้าวซอยน้อย??? สอบถามจากคนเฒ่าคนแก่ก็ไม่ได้คำตอบที่แน่นอน ป้ออุ๊ย แม่อุ๊ยบอกว่า เขาก็เรียกกันมาอย่างนี้ตั้งนานนมแล้ว สันนิษฐานได้ว่าที่เรียกว่าข้าวซอยน้อยเนื่องจาก ไม่ใช่ข้าวซอยใหญ่ !!! ก็เพราะข้าวซอยใหญ่หมายถึง แผ่นก๋วยเตี๋ยวที่คนไทยภาคกลางนำมาตัดเป็นเส้นราดหน้า แต่ชนชาวไทยใหญ่ ไทลื้อ ไทเขิน นิยมนำมาหั่นเหมือนกัน แต่จะหั่นในลักษณะเส้นที่เล็กกว่ามาก (ใหญ่กว่าเส้นขนมจีนนิดหนึ่ง) นิยมนำเส้นที่ว่านี้มาทำเป็นข้าวซอยน้ำเงี้ยว หรือข้าวซอยน้ำสู่ (ซึ่งจะนำมาเสนอในโอกาสต่อไป) อีกอย่างหนี่งคือกรรมวิธีในการทำข้าวซอยน้อยนั้น เมื่อนำแป้งไปนึ่งแล้ว แผ่นก๋วยเตี๋ยวที่ได้จะมีลักษณะเล็กและบางกว่าแผ่นก๋วยเตี๋ยวที่มีขายตามท้องตลาดทั่วไป เพราะฉะนั้น อาจจะเรียกเพื่อให้แตกต่างกันเพื่อไม่ให้สับสน                                            

วิธีการทำข้าวซอยน้อย 
           เนื่องจากร้านขายข้าวซอยน้อยในอำเภอแม่สายมีไม่กี่ร้าน แต่มีร้านหนึ่งที่ได้รับความนิยมจากนักชิม และนักกินทั้งหลายว่ารสชาดสุดยอดแล้ว นั่นคือร้านข้าวซอยน้อยพี่จั๋นติ๊บ ถ้ำผาจม ซึ่งทางพี่ติ๊บ (ชาวไทลื้อ) เปิ้นบอกว่าเป็นข้าวซอยน้อยสูตรโบราณขนานแท้ เพราะสูตรการทำได้รับการถ่ายทอดมาถึง 7 ชั่วคนแล้ว ซึ่งลูกชายพี่ติ๊บก็เป็นรุ่นที่ 8 ปัจจุบันแม่ของพี่ติ๊บก็ยังมาข่วยขายในบางวัน พี่ติ๊บได้กรุณาเปิดเผยวิธีการทำว่า เริ่มจากสั่งข้าวจ้าวมาจากเชียงตุง เพื่อนำมาแช่ และโม่เพื่อให้ได้แป้งที่จะทำข้าวซอยน้อย ขั้นตอนนี้ต้องอาศัยความชำนาญถึงจะทำออกมาให้ได้น้ำแป้งที่ข้นพอเหมาะไม่ข้น หรือเหลวจนเกินไป เมื่อได้น้ำแป้งมาแล้ว ก็นำมาปรุงรสด้วยเกลือ ผงชูรส โรยด้วยต้นหอมซอย เพื่อเพิ่มรสชาดความหอม
                                                       จากนั้นนำหม้อต้มใบใหญ่ใส่น้ำครึ่งหม้อ ตั้งไฟแรง ๆ ให้เดือดปุดๆ



 เทแป้งที่ปรุงเครื่องแล้วลงในแบบพิมพ์ทรงกลม แล้วนำไปนึ่งในหม้อที่ต้มน้ำไว้ ระยะเวลาในการนึ่งก็แป๊บเดียว ไม่ถึงนาที ก็จะได้แผ่นข้าวซอยน้อยที่ทั้งนุ่มทั้งหอม                                            

เครื่องปรุง 
สำหรับเครื่องปรุงของข้าวซอยน้อยมีหลากหลายชนิดได้แก่
           1.ถั่วลิสงคั่วบดละเอียด
           2.พริกป่นคั่วน้ำนัน
           3.พริกแดงสดบดละเอียด
           4.พริกแดงสดบดละเอียดคั่วน้ำมัน
           5.น้ำตาล
           6.ผงชูรส
           7.ซีอี้วดำตราเสือ (พี่ติ๊บบอกว่า...ต้องตราเสือถึงจะอร่อย)
           8.ผักชีหั่น
           9.งาดำคั่วบดละเอียด
           10.หอมเจียว
           11.มะนาว
   

วิธีรับประทาน 
           มีวิธีทานอยู่ 2 แบบคือทานแบบจิ้มน้ำจิ้ม โดยการนำเครื่องปรุงทั้งหมดมาผสมกันให้ได้รสชาดที่พอเหมาะแล้วฉีกข้าวน้อยจิ้มเป็นคำ ๆ ไป อีกวิธีหนึ่งคือทานโดยการนำเครื่องปรุงทั้งหมดมาผสมรวมกันกับเส้นข้าวซอยน้อยที่หั่นเป็นแผ่น และมีผักกระหล่ำสดเป็นส่วนผสม โรยด้วยผักชีหั่น ทั้งสองวิธีก็จะได้รสชาดที่คล้าย ๆ กัน





อ้างอิง www.lovemaesai.com

ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี



1.ประเพณีสืบชะตา เป็นประเพณีที่นิยมถือปฏิบัติกันของชาวไทยทางภาคเหนือ แต่ปัจจุบันความเชื่อและศรัทธาเริ่มกว้างมากขึ้น ในภาคอื่นๆ หรือแม้แต่ในหมู่คนกรุงฯ หรือวัยรุ่นมากขึ้น เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่บ้านเมืองและตัวบุคคล จึงมี การสืบชะตาบ้าน สืบชะตาเมือง และสืบชะตาคน 
สืบชะตาเมือง เป็นประเพณีสำคัญของทางเชียงใหม่ที่จะต้องถือปฏิบัติกันทุกปี การทำบุญเมืองนั้นเพื่อสร้างความร่มเย็นเป็นสุขในแก่ชาวบ้านชาวเมือง เป็นการสร้างความสามัคคีพร้อมเพรียงให้เกิดขึ้นในหมู่ชาวเมือง เนื่องจากในสมัยโบราณกล่าวกันว่า การสืบชะตาเมืองมักจะจัดขึ้นในสองกรณีคือ 
กรณีแรก จัดในยามที่บ้านเมืองเดือดร้อน ข้าวยากหมากแพง หรือเกิดศึกสงครามมีทั้งการสืบชะตาเมือง สืบชะตาเจ้าเมือง ทำบุญบูชาเซ่นไหว้ พระวิญญาณของเจ้าผู้ครองเชียงใหม่องค์ก่อนๆ ตลอดจน "พระเสื้อบ้าน พระเสื้อเมือง" เทพาอารักษ์ รวมถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ
กรณีที่สอง จัดในยามที่บ้านเมืองสงบสุข เพื่อให้เกิดความเป็นมงคลแก่บ้านเมือง ให้เสริมบารมีให้รุ่งเรืองยิ่งขึ้นไป 




2.ประเพณีโล้ชิงช้าบ้านผาหมี จะมีการจัดขึ้นทุกๆ ปี ประมาณปลายเดือนสิงหาคม ถึงต้นเดือนกันยายนซึ่งจะตรงกับ ช่วงที่ผลผลิต กำลังงอกงาม และพร้อมที่จะเก็บเกี่ยวในอีกไม่กี่วัน ในระหว่างนี้อ่าข่าจะดายหญ้าในไร่ข้าวเป็นครั้งสุดท้าย หลังจากดายหญ้าแล้วก็รอสำหรับการเก็บเกี่ยว ตรงกับเดือนของอ่าข่าคือ “ฉ่อลาบาลา” ประเพณีโล้ชิงช้าของชาวอ่าข่า ถือเป็นพิธีกรรมที่มีคุณค่ามากด้วยภูมิปัญญาที่ใช้ในการส่งเสริมความรู้แล้ว ยังเกี่ยวพันกับการดำรงชีวิตประจำวันของอ่าข่าอีกมากมาย



3.ตักบาตรสามแผ่นดิน มหากุศลครั้งยิ่งใหญ่ในดินแดนล้านนา ตักบาตรพระ 3 แผ่นดิน ได้แก่ 1.ประเทศไทย 2.สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า และ 3.สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 10,000 รูป ณ บริเวณหน้าด่านพรมแดน อ.แม่สาย จ.เชียงราย 


อ้างอิง http://581128019.blogspot.com/2015/10/blog-post_65.html

แหล่งท่องเที่ยว

พระธาตุดอยเวา


               ตั้งอยู่ที่ หมู่ 1 ตำบลแม่สาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย (ตั้งอยู่บนดอยริมฝั่งแม่น้ำสาย) ตามประวัติกล่าวว่า พระองค์เวาหรือเว้าผู้ครองนครนาคพันธ์โยนกเป็นผู้สร้างเพื่อบรรจุพระเกศาธาตุองค์หนึ่งเมื่อ พ.ศ.364 นับเป็นพระบรมธาตุที่เก่าแก่องค์หนึ่งรองลงจากพระบรมธาตุดอยตุง บนพระธาตุดอยเวาได้จัดตกแต่งให้มีความร่มรื่นเป็นอันมาก มีหอชมทิวทัศน์ซึ่งสามารถชมทิวทัศน์ในตัวเมืองแม่สาย และจังหวัดท่าขี้เหล็ก ประเทศเมียนม่าร์ ได้อย่างชัดเจน มีรูปปูนปั้นแมงป่องช้าง (แมงเวา) ตัวขนาดใหญ่ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่ บริเวณลานกว้างทางด้านเหนือขององค์พระเจดีย์ มีอนุสาวรีย์ของ พระนเรศวรมหาราช พระสุพรรณกัลยา และพระเอกาทศรสประดิษฐานอยู่เคียงข้างกัน โดยอนุสาวรีย์ทั้ง 3 พระองค์สร้างขึ้นตามความตั้งใจของหลวงปู่โง่น โสรโย แห่งวัดพระพุทธบาทเขารวก จ.พิจิตร รวมทั้งมีปราสาทไพชยนต์ ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อประกาศถึงคุณงามความดี และเพื่อสักการะพระอินทร์ (องค์อัมรินทราธิราช) ซึ่งร่วมสร้างกันหลายฝ่าย ทั้งภาครัฐ และเอกชน คหบดีของอำเภอแม่สาย ฯลฯ

  ถ้ำผาจม


               ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลแม่สาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย อยู่ห่างจากอำเภอแม่สายไปทางทิศเหนือประมาณ 1.5 กิโลเมตร ถ้ำผาจมตั้งอยู่บนดอยอีกลูกหนึ่งทางทิศตะวันตกของดอยเวา ติดกับแม่น้ำสาย เคยเป็นสถานที่พระภิกษุสงฆ์นั่งบำเพ็ญเพียรภาวนา เช่น พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ปัจจุบันมีรูปปั้นของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ประดิษฐานไว้บนดอยด้วย ภายในถ้ำผาจมมีหินงอกหินย้ยอยู่ตามผนังและเพดานถ้ำ สวยงามวิจิตรการตา

ถ้ำปุ่ม ถ้ำปลา ถ้ำเสาหินพญานาค


               ตั้งอยู่ที่ดอยจ้อง หมู่11 ตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย ห่างจากอำเภอแม่สายไปทางทิศใต้ตามทางหลวงหมายเลข 110 ประมาณ 12 กิโลเมตร มีทางแยกเข้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร ดอยจ้องเป็นภูเขาหินปูนจึงประกอบด้วย ถ้ำหินงอก หินย้อย และทางน้ำไหลมากมาย
ถ้ำปุ่ม นั้นอยู่สูงขึ้นไปยอดเขา ต้องปีนขึ้นไป ภายในถ้ำมืดมาก ต้องมีผู้นำทางเที่ยวชม
ถ้ำปลา เป็นถ้ำหนึ่งที่มีน้ำไหลภายในถ้ำ เคยมีปลาชนิดต่าง  ทั้งใหญ่น้อยว่ายออกมาให้เห็นเป็นประจำ ภายในถ้ำยังมีพระพุทธรูปศิลปะพม่า สร้างขึ้นโดยพระภิกษุชาวพม่า เมื่อ 50 กว่าปีก่อน ประชาชนทั่วไปเรียกว่า “พระทรงเครื่อง” เป็นที่เลื่อมใสของประชาชนในแถบนี้ br> ถ้ำเสาหินพญานาค อยู่ในบริเวณเดียวกัน เดิมต้องพายเรือข้ามน้ำเข้าไปชม ภายหลังได้สร้างทางเดินเชื่อมกับถ้ำปลา เป็นระยะทาง 150 ม. ภายในถ้ำมีหินงอก หินย้อย และยังเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมด้วย

ตลาดดอยเวา


               ตลาดดอยเวาเป็นแหล่งซื้อ-ขายของฝากที่นักท่องบเที่วแทบทุกคนต้องได้มาสักครั้งหนึ่ง เพื่อมาเดินซื้อของฝากราคาประหยัดกัน บริเวณนี้แต่เดิมเป็นที่ว่างเปล่า อยู่บริเวณหน้าวัดดอยเวา หรือปากทางขึ้นไปพระธาตุดอยเวานั่นเอง ซึ่งเป็นที่ดินของวัดดอยเวา ต่อมาทางวัดได้ก่อสร้างเป็นอาคารชั้นเดียว เพื่อจัดสรรให้บรรดาพ่อค้าแม่ขายได้จับจองล๊อกเพื่อขายของฝาก โดยเงินที่ได้จากค่าเช่านั้น ทางวัดได้นำมาบูระณะปฏิสังขรบริเวณรอบ ๆ วัดและพระธาตุดอยเวาให้ดูดี และเป็นระเบียบเรียบร้อยยิ่งขึ้น
               บรรดาของฝากที่มีขายกันมากมาย ประกอบไปด้วย เครื่องใช้ไฟฟ้า, ขนมชนิดต่าง, เครื่องคิดเลข, เสี้อผ้ากันหนาว, เสี้อผ้าแฟชั่น, ชุดว่ายน้ำ, ถุงเท้า, รองเท้า, ของเล่นเด็ก, ภาพโปสเตอร์, พรม, ผ้าห่มขนปุย, ฯลฯ โดยสินค้าส่วนใหญ่จะผลิตในประเทศจีน มีบางอย่างที่ผลิตในประเทศพม่าเช่น เครื่องสำอางค์ หรือขนมบางอย่าง สนนราคาก็ไม่แพงเลย อาทิเช่น เครื่องเล่นวีซีดีเครื่องละประมาณ 1,000-1,200 หรือถ้าคุณต่อรองดี แล้ว อาจจะต่ำกว่าพันก็ได้ เครื่องคิดเลขขนาดใหญ่ก็ราคาประมาณ 100 บาท อันเล็ก ๆ น่ารัก ๆ ประมาณ 30-60 บาท ของเล่นเด็กที่ผลิตในจีนก็ราคาถูก แต่คุณภาพ หรือความคงทนก็ด้อยตามราคาของมัน

ตลาดสายลมจอย


               ส่วนแหล่งขายของฝากอีกที่หนึ่งคือบริเวณถนนสายลมจอย (สายลมโชย) ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเดินทะลุมาจากตลาดดอยเวาได้เลย สินค้าที่มีจำหน่ายที่นี่ก็มีคล้าย ๆ กับของตลาดดอยเวา ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ถนนสายลายจอยแห่งนี้จะถูกเนรมิตให้เป็น ถนนข้าวสาร(แม่สาย) มีการปิดถนนคนเดิน ให้นักท่องเที่ยวและชาวบ้านได้เล่นน้ำสงกรานต์กันอย่างเต็มที่ ซึ่งได้เริ่มเมื่อปี 2547 นี้เป็นปีแรก

ตลาดน้อยไม้ลุงขน


               หมู่บ้านไม้ลุงขนเป็นหมู่บ้านเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งของอำเภอแม่สาย ที่มาของชื่อไม้ลุงขน มาจากชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง เรียกกันว่า “ต้นไม้ลุง” บริเวณกิ่งก้สนจะมีเถาวัลย์ และกิ่งเล็ก ๆ งอกออกมาลักษณะเหมือนขน ชาวบ้านจึงเรียกว่าไม้ลุงขน และนำมาเป็นชื่อหมู่บ้านดังกล่าว
               บริเวณใจกลางหมู่บ้านไม้ลุงขนจะมีตลาดอยู่ ซึ่งคนในพื้นที่จะเรียกเป็นภาษาถิ่นว่า “กาดน้อย” กาดน้อยเป็นตลาดเย็น หมายถึงจะขายของตอนเย็น ตอนเช้าก็จะมีพ่อค้าแม่ค้าเอาของมาขายเช่นกัน แต่จะเป็นพวกน้ำเต้าหู้ ปาท่องโก๋ หรือไม่ก็กับข้าวสำเร็จ ส่วนในตอนเย็นเริ่มตั้งแต่เที่ยงวันเป็นต้นไป จะเป็นของสด เช่นผักสดชนิดต่าง
            ตลาดแห่งนี้มีความอยู่อย่างหนึ่งคือ เป็นตลาดที่สามารถขี่มอเตอร์ไซต์เข้าไปจับจ่ายเลือกซื้อหากันได้ และเคยได้ออกรายการทีวีมาแล้วเช่นรายการที่นี่ประเทศไทย รายการสะเก็ดข่าว ลักษณะทั่วไปของตลาดจะเป็นแผงลอยที่ทำขึ้นมาเองจากฝีมือพ่อค้าแม่ขายเอง เวลาฝนตก แดดออกก็ต้องหาร่ม หาผ้าใบมาคลุมกันเอง
            แรกเริ่มเดิมทีย้อนหลังไปเกือบ 30 ปีที่แล้ว บริเวณนี้เป็นถนนค่อนข้างกว้างขวาง มีคนเอาผัก เอาผลหมากรากไม้ที่ปลูกไว้หลังบ้านมาวางขายกันไม่กี่เจ้า นานวันเข้าก็มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จนทุกวันนี้มีร้านค้านับเป็นหลายร้อยร้าน

ขุนน้ำนางนอน 


วนอุทยานแห่งชาติถ้ำหลวง – ขุนน้ำนางนอน
               วนอุทยานแห่งชาติถ้ำหลวง – ขุนน้ำนางนอนได้จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2529 ครอบคลุมหัวดอยนางนอน อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดอยนางนอน ท้องที่รับผิดชอบของตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย มีเนื้อที่ 8 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 5,000 ไร่ มีพื้นที่สำหรับบริการนักท่องท่องอยู่ 2 แห่งคือ
              1.บริเวณวนอุทยานถ้ำหลวง มีเนื้อที่ 12 ไร่ ตั้งอยู่ท้องที่บ้านน้ำจำ ต.โป่งผา อ.แม่สาย จ.เชียงราย เป็นที่ตั้งสำนักงาน
              2.บริเวณขุนน้ำนางนอน มีเนื้อที่ 8 ไร่ ตั้งอยู่ท้องที่บ้านจ้อง ต.โป่งผา อ.แม่สาย จ.เชียงราย
สภาพภูมิประเทศ
              1.บริเวณถ้ำหลวง เป็นพื้นที่หุบเขามีภูเขาสูงล้อมรอบ
              2.บริเวณขุนน้ำนางนอน เป็นพื้นที่ราบเชิงดอยมีต้นไม้ปกคลุมหนาแน่น มีน้ำซึมผ่านมาจากรอยแยกของหินเป็นแอ่งน้ำซึ่งใสและเย็นมาก
              ปากถ้ำอยู่ทิศเหนือของตัวดอย สูงกว่าระดับพื้นดินธรรมดาประมาณ 15 ขั้นบันได เป็นถ้ำที่มหินงอกหินย้อยเป็นจำนวนมากที่สุดถ้ำหนึ่งในเชียงราย การเดินขึ้นไปปากถ้ำสะดวกสบายมาก เพราะไม่สูงและมีปันไดไว้ให้ ปากถ้ำกว้างประมาณ 20 เมตร ลักษณะลาดเอียงลงไปข้างล่าง คือเอียงลงในถ้ำ ภายในไม่ราบเรียบ เต็มไปด้วยหินงอก หินย้อยตะปุ่มตะป่ำ บางแห่งหินย้อยลงมาจากเพดานข้างบนจนจดพื้นข้างล่าง เลยกลายเป็นลักษณะเสาค้ำเพดานไว้ก็มี บางแห่งย้อยลงมามีลักษณะคล้ายผ้าม่านที่มนุษย์ทำขั้น บางแห่งเวลาส่องดูด้วยไฟฟ้าเดินทางจะปรากฏมีแสงระยิบระยับสวยงามมาก บางคนจินตนาการไปต่าง ๆ นานา เช่น เป็นห้องโถงท้องพระโรงบ้าง ห้องนั่งเล่นบ้าง แม้กระทั่งจินตนาการเป็นรูปคน สัตว์ก็มี หลายแห่งมีน้ำหยดลงมาจากผนังถ้ำด้านบน บางแห่งหยดลงมานานจนกลายเป็นแอ่งน้ำเล็ก ๆ สามารถตักดื่มได้ จึงจินตนาการไปกลายเป็นบ่อน้ำทิพย์ บ่อน้ำมนต์ฤาษีบ้าง ว่ากันไปไม่รู้จบ บ้างก็เล่าลือกันไปว่าถ้ำนี้สามารทะลุไปออกถ้ำเชียงดาวจังหวัดเชียงใหม่โน่นทีเดียว ซึ่งไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด
              ภายในถ้ำมีลักษณะเป็นตะปุ่มระป่ำไม่เรียบถ้าเรียบก็สามารถบรรจุคนจำนวนร้อยได้ บางแห่งกว้างราวกับหอประชุมขนาดใหญ่ มีโพรงอากาศที่ทะลุจากเพดานถ้ำด้านบนให้แสงสว่างลงมาถึงก้นถ้ำสามแห่ง เชื่อกันว่าไม่มีใครสามารถเดินเข้าถ้ำนี้จนสุดได้ทุกซอกทุกมุมได้ เพราะว่ามีหลายหลืบ หลายชั้นมากมายเหลือเกิน บางตอนจะต้องเดินลัดน้ำที่ลึกประมาณ 1 ศอกก็มี แต่บางแห่งก็เป็นเพียงมีน้ำซึมเท่านั้น พื้นถ้ำส่วนมากลื่นอาจจะหกล้มได้ง่าย บางแห่งเป็นหุบเหวยอยู่ภายในถ้ำก้มี ทั้งนี้เนื่องจากความใหญ่โตของมันนั่นเอง
              เมื่อปี 2534 มีนักทัศนาจรชาวฝรั่งสองคน ได้มาเที่ยวที่ถ้ำหลวงแห่งนี้และพากันเข้าไปในถ้ำ คนภายนอกถ้ำสังเกตุว่าทั้งคู่ไม่ออกมากที จึงแจ้งตำรวจและช่วยกันค้นหา กว่าจะพบและพาออกมาได้ก็เสียเวลาไปสามวันในสภาพที่ดิดโรยเต็มที จากนั้นจึงมีเจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดนมาตั้งอยู่ที่ปากถ้ำเพื่อให้คำแนะนำช่วยเหลือดังกว่าวมาแล้ว
สภาพภูมิอากาศ
              สภาพภูมิอากาศของวนอุทยานถ้ำหลวง – ขุนน้ำนางนอน มี 3 ฤดู คือฤดูฝน ฤดูร้อน และฤดูหนาว สำหรับวนอุทยานถ้ำหลวงมีสภาพอากาศที่เย็นสบายถึงแม้จะเป็นฤดูร้อนเพราะอยู่ในพื้นที่หุบเขา
จุดเด่นและแหล่งท่องเที่ยว
         วนอุทยานถ้ำหลวง – ขุนน้ำนางนอน มีพื้นที่สำหรับบริการนักท่องเที่ยว 2 แห่ง มีจุดเด่นของแหล่งท่องเที่ยว 6 แห่ง คือ
              1.ถ้ำหลวง ตามลักษณะของถ้ำ คำว่า “หลวง” เป็นภาษาพื้นเมือง แปลว่าใหญ่ ถ้ำหลวงเป็นถ้ำหินปูนขนาดใหญ่ เชื่อว่ามีความยากมากที่สุดในประเทศไทย สำรวจได้โดยประมาณ 7 กิโลเมตร ปากถ้ำกว้างขวางมาก ภายในจะพบความงามของเกล็ดหินสะท้อนแสง หินงอก หินย้อย ธารน้ำและถ้ำลอด แต่ละจุดจะมีชื่อเรียกตามลักษณะของบริเวณนั้น
              2.ถ้ำพระ เป็นถ้ำขนาดเล็กมีความสงบร่มเย็น ชาวบ้านได้สร้างพระพุทธรูปประดิษฐานไว้ เพื่อเป็นที่สักการะบูชา
              3.ถ้ำเลียงผา เป็นถ้ำที่มีเปลือกหอย อายุหลายล้านปี (กำลังอยู่ในระหว่างการสำรวจข้อมูลที่ชัดเจน) แต่เดิมมีคนกล่าวไว้ว่าเป็นแหล่งน้ำ ซึ่งบริเวณนี้จะมีเลียงผามากินน้ำเป็นประจำ จึงได้ชื่อว่า “ถ้ำเลียงผา” มีความชุ่นชื้นตลอดเวลา พื้นถ้ำบางแห่งเป็นดินพุ
              4.ถ้ำมัลติเทวี เป็นถ้ำขนาดเล็ก มีหินงอกคล้ายรูปพญานาค บางครั้งเรียกว่าถ้ำพญานาค กล่าวกันว่าครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ปฏิบัติธรรมของพระอริยสงฆ์รูปหนึ่ง และได้มรณะภาพภายในถ้ำนี้
              5.ถ้ำทรายทอง มีความงดงามของหินงอก หินย้อย พื้นถ้ำเดินได้สะดวก และสามารถเดินทะลุไปอีกส่วนหนึ่งของถ้ำได้ (อยู่ที่บริเวณขุนน้ำนางนอน)
              6.ขุนน้ำนางนอน เป็นแอ่งเก็บน้ำซึ่งซึมผ่านออกมาจากรอยแยกของหิน มีน้ำตลอดปี และมีปลาหลากหลายชนิดอาศัยอยู่ มีความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติอยู่มาก และยังมีเส้นทางเดินเท้าศึกษาธรรมขาติ 1 เส้นทาง ซึ่งระยะทางประมาณ 2.6 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินศึกษาธรรมชาติอย่างน้อย 55 นาที หรืออย่างมาก 2 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับการเลือกจุด ที่จะหยุดตามความสนใจ ซึ่งหากคุณเดินช้า ก็จะได้รับรางวัลมากกว่าการเดินเร็ว
การคมนาคม
              เดินทางได้โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 10 จากเชียงราย – แม่สาย ระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร จากนั้นเลี้ยวซ้ายตามป้ายชื่อ (ปากทางเข้าอยู่บริเวณตรงข้ามโรงเรียนบ้านน้ำจำ ต.โป่งผา) วนอุทยานถ้ำหลวง – ขุนน้ำนางนอน ระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร
เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ
              สำหรับเส้นทางสำรวจและศึกษาธรรมชาติ ของวนอุทยานถ้ำหลวง – ขุนน้ำนางนอนนั้น มีจำนวน 3 เส้นทาง เส้นทางที่ยาวที่สุดมีระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง หรือผู้ใหญ่ เส้นทางรองลงมามีระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร และเส้นทางที่สามนั้นมีระยะทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร เหมาะสำหรับเยาวชนหรือผู้ที่มีเวลาน้อย
              ตลอดระยะเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติทั้ง 3 เส้นทางนี้ มีสิ่งที่น่าสนใจมากคือ สภาพของป่าบริเวณถ้ำหลวง จนถึงขุนน้ำนางนอน มีสภาพเป็นป่าเบญจพรรณผสมดิบแล้ง และบางช่วงเป็นป่าโปร่ง มีไม้ไผ่หลายชนิดขึ้นกระจัดกระจาย ไม้บนสุดที่มีเรือนยอดเด่น มีความหลากหลายทางชีวภาพทั้งของชนิด และพันธุ์ไม้ค่อนข้างสูง อีกทั้งหากเดินอย่างสงบจะพบสัตว์ป่าหลายชนิด เช่นหมูป่า เก้ง แมวป่า อีเห็น กระรอก กระแต หนูหรึ่ง ส่วนจำพวกนก ได้แก่เหยี่ยว นกนางถ้ำ นกปรอทหัวขวาน นกกระปูด 
              ระหว่างทางจะพบโขดหินปูนซึ่งถูกน้ำกัดเซาะสวยงาม และข้างทางจะพบเห็ด เถาวัลย์ นอกจากนั้นช่วงทางเดินแต่ละเส้นทางระหว่างถ้ำหลวงถึงขุนน้ำนางนอน จะพบการแบ่งเขตของป่า จากป่าเบญจพรรณสู่ป่าดิบแล้งอย่างชัดเจน และป่าซึ่งฟื้นคืนสภาพจากการถูกทำลายและทั้ง 3 เส้นทางจะมีทางลงที่ขุนน้ำนางนอน
สิ่งที่คุณสามารถพบได้ระหว่างการเดินศึกษาธรรมชาติ
              1.ไลเคน เป็นสิ่งมีชีวิตโบราณ คืบคลานมาจากท้องทะเล เมื่อประมาณ 400 ล้านปีมาแล้ว โดยขึ้นมาอยู่บนก้อนหิน นับเป็นปรากฏการณ์ของวิวัฒนาการบนโลกเรา แต่ก่อนนั้นผิวโลกของเราเป็นสีน้ำตาล ไม่มีสิ่งมีชิวิตแต่ด้วยสิ่งมีชีวิตชนิดนี้จัดได้ว่าเป็นการปฏิวัติเขียว ซึ่งทำให้พื้นผิวโลกมีการเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงไป ไลเคนเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างดิน ทำให้พืชขนาดเล็กเกิดขึ้นได้ ซึ่งนำไปสู่การสร้างผืนป่าขนาดใหญ่ ถ้าไลเคนไม่เกิดขึ้นในขั้นแรกก็จะไม่มีสิ่งมีชีวิตอื่นตามมาได้ รวมทั้งตัวเราด้วย 
              2.พรมแดนป่า รอยต่อของป่าตรงบริเวณนี้เป็นบริเวณถิ่นที่อยู่อาศัยที่มีลักษณะเฉพาะพิเศษ เพราะมีป่าถึงสามชนิดอยู่ใกล้ชิดติดกัน ได้แก่ ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และป่าดงดิบ มีความหลากหลายทางพันธุ์ไม้มาก จัดเป็นแหล่งผลิตอาหารขนาดใหญ่ในพื้นที่เล็ก ๆ ทำให้สัตว์ป่าขนาดเล็กและใหญ่ รวมทั้งนกสามารถเคลื่อนย้ายหากินได้ง่าย และรวดเร็ว ในระหว่างป่าแต่ละชนิดความมหัศจรรย์ที่ทำให้พันธุ์ไม้มารวมอยู่ได้ในบริเวณนี้ก็เนื่องมาจากความลดหลั่นในปริมาณและคุณภาพของดิน อากาศ อุณหภูมิ ปริมาณน้ำ และความลาดเอียงของพื้นที่
              3.ต้นไผ่ เป็นหญ้าที่สูงที่สุดในโลก มีวิวัฒนาการด้านการสืบพันธุ์อย่างมีประสิทธิภาพ โดยในฤดูฝนจะแตกหน่อ งอกออกมาเหมือนกับต้นแม่ภายในเวลา 3 เดือน แล้วหน่อไผ่เหล่านี้ก็เจริญเติบโตต่อไปเรื่อย ๆ จนเมื่อวันหนึ่งบรรยากาศบริเวณนั้นขาดแคลนความชื้นในอากาศและความชื้นในดิน มันก็จะพากันออกดอกออกผลได้เป็นพัน ๆ เพื่อแพร่กระจายไปได้เป็นบริเวณกว้างขวาง ซึ่งเป็นการใช้พลังงานไปอย่างมากมาย แล้วต้นแม่ก็จะตาย ซึ่งเรียกว่าไผ่ตายขุย ในอุทยานนี้มีไผ่อยู่มากกว่า 8 ชนิด ที่ใช้เทคนิคการสืบพันธุ์โดยวิธีดังกว่าว
              4.กล้วยไม้ เงยหน้าขึ้น จะพบกล้วยไม้ (ต้นไม้กลุ่มที่ถูกจัดเป็นพืชมีดอกสวยที่สุดในโลก) ถูกจัดเป็นพืช เกาะอาศัย กล้วยไม้มีรากอากาศเพื่อเก็บน้ำและมีขี้ผึ้งเคลือบใบเพื่อป้องกันความร้อนและกระแสลมมาพัดเอาไอน้ำไปจากใบ รากสามารถดึงดูดน้ำจากอากาศ และฝน กล้วยไม้กินแร่ธาตุจากน้ำฝนที่ไหลผ่านเปลือกไม้ กล้วยไม้มักมีรูปร่างของใบคล้าย ๆ ถ้วยเพื่อเก็บน้ำฝนให้ได้มากขึ้น
              5.พูพอน มองขึ้นไปคุณจะเห็นว่าต้นไม้ในป่าดงดิบสูงมากเพียงใด บางต้นสูงถึง 40 เมตร คุณว่ามันรักษาความสู่งเด่นของมันอย่างไร รากของมันไม่ลึกมากพอ ต้นไม้ไม่มีรากแผ่ด้านข้างมากนัก เพราะรากไม้จะไปประสานชนกับรากต้นไม้อื่นจึงทำให้มันไม่สามารแผ่ไปได้ไกล ต้นไม้ในป่าดงดิบจึงสร้างขาพิเศษสำหรับเอาไว้ค้ำยันเพื่อเผชิญกับพายุแรง ขาพิเศษนี้เรียกว่า “พูพอน”
              6.เถาวัลย์ พื้นป่าดงดิบมืดทับ เพราะได้รับแสงน้อย ที่นี่คุณจะพบเถาวัลย์มากมาย เถาวัลย์ต้องการแสงแดดเช่นเดียวกับต้นไม้ใหญ่ มันจึงใช้วิธีลัดด้วยการเติบโตทางด้านยาวมากกว่าด้านกว้าง ทำให้ไม่แข็งแรง แต่ก็ขึ้นไปรับแสงได้ ด้วยการอาศัยต้นไม้อื่น มันแตกรากออกด้านข้างเพื่อเกาะยึด ให้หนามขอเกี่ยว เถาวัลย์ไม่ทำร้ายต้นไม้ที่มันอาศัย ยังช่วยสานเรือนยอดต้นไม้ให้เป็นกำแพงเพื่อต้านพายุได้
              7.ปลวก ถ้าในป่าไม่มีปลวกจะเกิดอะไรขึ้น??? ปลวกเป็นสัตว์ที่มีคุณค่าอยางยิ่ง เพระต้นไม้กิ่งไม้ที่หักลงจะถูกย่อยสบายเปลี่ยนเป็นธาตุที่มีโครงสร้างซับซ้อนให้กลับมาเป็นอาหารที่พืชชนิดอื่นนำไปใช้ได้ทันที ปลวกไม่มีน้ำย่อยในตัวของมัน แต่อาศัยโปรตัวซัวในลำไส้ที่สามารถย่อยเนื้อไม้ มันนำไม้ปให้เห็ดราภายรังเป็นอาหาร ปลวกก็จะพากันกินเห็ดที่งอกขั้นมาเหมือนกับสวนครัวที่คุณปลูกไว้ที่บ้าน ในป่าทั่ว ๆ ไป จึงจำเป็นต้องมีปลวกทำหน้าที่หมุนเวียนแร่ธาตุอาหารให้กับนิเวศวิทยาของป่า
ขุนน้ำนางนอน
              เป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งที่เป็นหน้าเป็นตาของอำเภอแม่สาย ตั้งอยู่บ้านจ้อง ต.โป่งผา อ.แม่สาย ห่างจากตัวอำเภอแม่สายลงมาทางพหลโยธินประมาณ 7 กิโลเมตร และจากปากทางเข้าไปจนถึงขุนน้ำนางนอนอีกประมาณ 1.5 กิโลเมตร ระหว่างทางจะเป็นหมู่บ้านเรียงรายทั้งสองข้างทาง
              เมื่อหลายปีก่อนสามารถขี่มอเตอร์ไซค์เข้าไปข้างในได้เลย แต่ปัจจุบันทางเจ้าหน้าที่ได้จัดที่จอดรถไว้ให้ รวมทั้งร้านอาหารด้วย เมื่อก่อนที่ยังไม่มี่เจ้าหน้าที่มาดูแล ร้านอาหารจะตั้งอยู่ด้านใน ใกล้ ๆ กับขุนน้ำ (ถ้ำที่มีน้ำใหลออกมา) ทำให้ดูไม่เป็นระเบียบ ดังนั้นทางกรรมการหมุ่บ้าน ซึ่งมีหน้าที่ดูแลทั่วไปและเจ้าหน้าที่วนอุทยานได้จัดที่สำหรับตั้งร้านขายอาหารได้ มี 2 แห่ง คือทางด้านหน้าทางเข้าทางเดิม และอีกทางหนึ่งซึ่งเป็นทางเข้าทางใหม่ ทางด้านหลังของขุนน้ำ
              ในช่วงฤดูร้อน ประมาณเดือน มีนาคม-พฤษภาคม จะมีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวกันมากที่สุด นิยมนำอาหารจากบ้านมาทานกันเอง บางคนก็มาหาซื้อเอาจากร้านค้า ที่มีบริการนับสิบร้าน ภายในบริเวณขุนน้ำนางนอนมีถ้ำอยู่ 1 แห่ง เป็นถ้ำขนาดเล็ก สามารถเดินเข้าไปชมได้ตลอดเวลา

อ้างอิง https://maesaicrka.wordpress.com/%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%AD%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2/

ข้อมูลเกี่ยวกับอำเภอแม่สาย

ที่ตั้งและอาณาเขต


อำเภอแม่สายตั้งอยู่ทางทิศเหนือสุดของจังหวัด 
มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
  • ทิศเหนือ ติดต่อกับรัฐฉาน (ประเทศพม่า)
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับรัฐฉาน (ประเทศพม่า) และอำเภอเชียงแสน
  • ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเชียงแสน อำเภอแม่จัน และอำเภอแม่ฟ้าหลวง
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับรัฐฉาน (ประเทศพม่า)

เขตการปกครอง

ส่วนภูมิภาค
อำเภอแม่สายแบ่งเขตการปกครองส่วนภูมิภาคออก เป็น 8 ตำบล 87 หมู่บ้าน ได้แก่
ที่ชื่อตำบลตัวเมืองอักษรโรมันจำนวนหมู่บ้านจำนวนครัวเรือนจำนวนประชากร
1.แม่สายLN-Tambon-Mae Sai.pngMae Sai1212,26121,836
2.ห้วยไคร้LN-Tambon-Huai Khrai.pngHuai Khrai113,1287,333
3.เกาะช้างLN-Tambon-Ko Chang.pngKo Chang133,9519,601
4.โป่งผาLN-Tambon-Pong Pha.pngPong Pha124,8758,533
5.ศรีเมืองชุมLN-Tambon-Si Mueang Chum.pngSi Mueang Chum92,1804,893
6.เวียงพางคำLN-Tambon-Wiang Phang Kham.pngWiang Phang Kham1010,96020,748
7.บ้านด้ายLN-Tambon-Ban Dai.pngBan Dai81,6303,875
8.โป่งงามLN-Tambon-Pong Ngam.pngPong Ngam124,0158,447
ส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอแม่สายประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2 ระดับ ได้แก่ เทศบาลตำบล 4 แห่ง กับองค์การบริหารส่วนตำบล 6 แห่ง คือ
  • เทศบาลตำบลแม่สาย ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลแม่สายและบางส่วนของตำบลเวียงพางคำ
  • เทศบาลตำบลห้วยไคร้ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลห้วยไคร้
  • เทศบาลตำบลเวียงพางคำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเวียงพางคำ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลแม่สาย)
  • เทศบาลตำบลแม่สายมิตรภาพ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่สาย (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลแม่สาย)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยไคร้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยไคร้ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลห้วยไคร้)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะช้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะช้างทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโป่งผา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโป่งผาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลศรีเมืองชุม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีเมืองชุมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านด้าย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านด้ายทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโป่งงาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโป่งงามทั้งตำบล


สภาพพื้นฐานด้านเศรษฐกิจและสังคม
การพาณิชยกรรมและบริการ 
สถานประกอบการด้านพาณิชยกรรม 
ก)  สถานีบริการน้ำมัน                               จำนวน  1  แห่ง
ข)  ตลาดสด                                            จำนวน   5  แห่ง
     1)  ตลาดสดนายบุญยืน      
     2)  ตลาดสดไม้ลุงขน         
     3)  ตลาดสดป่ายาง
     4)  ตลาดสดลินทิพย์ 
    5)  ตลาดสดนายบุญมั่น


ค)  ร้านค้าทั่วไป  จำนวน  1,884  แห่ง 
(ข้อมูลงานจดทะเบียนพาณิชย์: กองคลัง เทศบาลตำบลแม่สาย ณ เดือนมีนาคม 2558) 

สถานประกอบการเทศพาณิชย์ 
1) โรงฆ่าสัตว์ 
     ปัจจุบันเทศบาลมีโรงฆ่าสัตว์ในความรับผิดชอบ จำนวน  1  แห่ง  โดยเทศบาลได้ดำเนินการก่อสร้างตามแบบแปลนมาตรฐาน 
2)  สถานธนานุบาล 
     ในเขตเทศบาลตำบลแม่สายมีสถานธนานุบาลของเอกชนให้บริการ 1 แห่งด้วย 

สถานประกอบการค้าด้านบริการ
ก)  โรงแรมและรีสอร์ตในเขตเทศบาล  จำนวน  23  แห่ง  ได้แก่
     1)  โรงแรมไททอง                          
     2)  โรงแรมปิยะพรเพลส
     3)  โรมแรมวังทอง                          
     4)  โรงแรมขันทองคำ
     5)  โรงแรมท็อปนอร์ท                   
     6)  โรงแรมเนวี่ โฮมส์
     7)  โรงแรมยูนนาน                          
     8)  โรงแรมเดอะวิคตอรี่
     9)  โรงแรมแม่สาย                        
     10)  บ้านสวนรีสอร์ต
     11)  โชคดีรีสอร์ต                          
     12)  ดอยงามรีสอร์ต
     13)  สุภาวดีรีสอร์ต                        
     14) โรงแรมปิยะเพชร เพลส
     15) โรงแรมปิยะพรพาวิลเลี่ยน       
     16) โรงแรมปิยะพรฮิวล์ พาราไดซ์
     17) โรงแรม ช พาเลซ                    
     18) โรงแรมเอสเฮาส์
     19) โรงแรมยี่ซัน                             
     20) สอนแก้ว รีสอร์ท
     21) กฤษณา รีสอร์ท
     22) โรงแรมกรีนวิวเพลส (ฮาลาล)
     23) โรงแรมสายลมจอยบูติค
ข)  ธนาคารในเขตเทศบาล  จำนวน     15  แห่ง  ได้แก่
     1)  ธนาคารกรุงไทย  
     2)  ธนาคารไทยพาณิชย์ (สาขา 1 ข้างโรงรับจำนำ)
     3)  ธนาคารไทยพาณิชย์ (สาขา 2 หน้าด่านพรมแดน)
     4)  ธนาคารกรุงเทพฯ 
     5)  ธนาคารกสิกรไทย (สาขา 1)
     6)  ธนาคารกสิกรไทย (สาขา 2 ซอยหน้าโรงเรียนเวียงพาน)
     7)  ธนาคารทหารไทย 
     8)  ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
     9) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย                   
     10)  ธนาคารออมสิน 
     11)  ธนาคารธนชาต                                                                                           
    12)  ธนาคารเพื่อการเกษตร (ธกส.)
    13) ธนาคาร CIMB Thai
    14) ธนาคารอาคารสงเคราะห์                                                                        
    15)  ธนาคาร SME BANK

การอุตสาหกรรม 
     ภายในเขตเทศบาล  ยังไม่มีการตั้งโรงงานเพื่อการผลิตสินค้าทางอุตสาหกรรม 
ขนาดใหญ่ใดๆ  คงมีเพียงอุตสาหกรรมขนาดเล็กเท่านั้นที่จัดทำเป็นธุรกิจ   ซึ่งประกอบด้วย 
1.  โรงสีข้าว                          จำนวน    1  แห่ง         
2.  โรงทำเส้นก๋วยเตี๋ยว         จำนวน    4  แห่ง         
3.  โรงน้ำแข็ง                       จำนวน    4  แห่ง         
4.  โรงงานเจียระไนพลอย    จำนวน   8  แห่ง         

ข้อมูลด้านสังคม
1) ชุมชน
สำหรับเทศบาลตำบลแม่สาย  ได้ประกาศจัดตั้งชุมชนโดยแบ่งออกเป็น  10 ชุมชนตามเขตของหมู่บ้าน ดังนี้ 
ตำบลเวียงพางคำ  ประกอบด้วย  5 ชุมชน  ดังนี้
1) ชุมชนแม่สาย   หมู่ 1 ต. เวียงพางคำ               
2)  ชุมชนดอยเวา  หมู่ 1 ต.เวียงพางคำ               
3) ชุมชนดอยงาม  หมู่ 2  ต. เวียงพางคำ
4)  ชุมชนเวียงพาน  หมู่ 3    ต. เวียงพางคำ
5)  ชุมชนป่ายางผาแตก หมู่ 10 ต.เวียงพางคำ              
ตำบลแม่สาย   ประกอบด้วย  5 ชุมชน  ดังนี้
1) ชุมชนเหมืองแดง  หมู่ 2   ต. แม่สาย               
2) ชุมชนป่ายางชุม  หมู่ 6    ต. แม่สาย               
3) ชุมชนเกาะทราย  หมู่ 7   ต. แม่สาย 
4)  ชุมชนป่ายาง   หมู่ 8  ต. แม่สาย
5)  ชุมชนไม้ลุงขน  หมู่ 10  ต. แม่สาย

2) การศึกษา
สถานศึกษา  ในเขตเทศบาลมีทั้งหมด  14  แห่ง  (รวมศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน) ได้แก่
1)  โรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ศาสตร์                           
2)  โรงเรียนอนุบาลแม่สาย 
3)  โรงเรียนบ้านป่ายาง                                         
4)  โรงเรียนบ้านเวียงพาน 
5)  โรงเรียนชุมชนไม้ลุงขน                                      
6)  โรงเรียนบ้านเหมืองแดง 
7)  โรงเรียนดรุณราษฎร์วิทยา                
8)  ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน
9)  โรงเรียนเทศบาล 1 (วัดพรหมวิหาร)                              
10) โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดป่ายาง) 
11)  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดพรหมวิหาร
12) โรงเรียนอารียาวิทย์ 
13) โรงเรียนพิกุลพัฒนศาสตร์
14) โรงเรียนเอกทวีวิทย์ 


3) ศาสนา
ประชากรในเขตเทศบาลตำบลแม่สายส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ    ดังนั้น  ศาสนสถานส่วนใหญ่จึงเป็นศาสนสถานในศาสนาพุทธ  และโดยพื้นที่นี้เป็นชุมชนที่มีการตั้งถิ่นฐานมาแต่โบราณกาล จึงมีศาสนสถานที่เป็นโบราณสถานอยู่ด้วย   ศาสนสถานในเขตเทศบาลตำบลแม่สาย  มีดังนี้ 
1)  วัดพระธาตุดอยเวา                   
2)  วัดพญาสี่ตวงคำ                       
3)  วัดเวียงพาน                            
4)  วัดแม่สาย                              
5)  วัดป่ายาง  
6)  วัดเหมืองแดง
7)  วัดผาสุการาม (วัดไม้ลุงขน) 
8)  วัดพรหมวิหาร
9) สำนักสงฆ์สามัคคีธรรมเกาะทราย
10 สำนักสงฆ์บ้านดอยงาม   
11)  มัสยิดอิสลาม  1  แห่ง                          
12) คริสต์จักร  1  แห่ง
นอกจากนี้ยังมีสุสาน2 แห่ง คือ สุสานเหมืองแดง และสุสานแม่สาย (ในเขตเทศบาลตำบลเวียงพางคำ)





ข้อมูลอาชีพของตำบล

               อาชีพหลัก ทำนา ทำสวน ทำไร่ อาชีพเสริม รับจ้าง ค้าขาย

อ้างอิง https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%AD%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2